วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

 ราคา 1,000 บาท/ตัว เป็นของเทียบ วุฒิกร 081-4882499


ภาพถ่ายสินค้า คอยล์ CK และ CS5









ภาพถ่ายสินค้า คอยล์ CS3










คอยล์จุดระเบิด

    โครงสร้างของคอยล์จุดระเบิด ไม่ว่าจะเป็นรถยี่ห้อใดก็ตาม ภายในจะเป็นหม้อแปลง หม้อแปลงแบ่งตามลักษณะการใช้ได้ออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกันคือ Step Up และ Step Down คอยล์จุดระเบิดทุกตัวไม่ว่าจะเป็นรถยี่ห้อไหนหรือรุ่นใดก็ตามล้วนแล้วแต่เป็น Step Up ทั้งนั้น ความหมายของ Step Up ก็คือแรงดันในส่วนขดทุติยภูมิจะมีค่าสูง กว่าขดปฐมภูมิ Lancer Cedia ขดปฐมภมิจะมีแรงดันประมาณ 12 โวลท์ แรงดันนี้จะถูกจ่ายออกมาจากกล่อง ECU ซึ่งจะสัมพันธ์กับองศาจุดระเบิดของแต่ละรอบเครื่อง ส่วนแรงดันฝั่งทุติยภูมิจะมีค่าแรงดันอยู่ที่ประมาณ 35,000 โวลท์ - 40,000 โวลท์ (ค่านี้เป็นค่ามาตรฐานของการจุดระเบิดโดยหัวเทียน) ปัจจุบันรถทุกรุ่นจะเป็น Direct Coil ทั้งหมด โดยคอยล์ 1 ตัวต่อ 1 สูบ หรือ คอยล์ 1 ตัว ต่อ 2 สูบ ก็แล้วแต่ (มิตซู คอยล์ 1 ตัว ต่อ 2 สูบ ตัวแรก สูบ 1 กับ 4 ตัวที่สอง สูบ 2 กับ 3) Direct Coil จะแตกต่างจากคอยล์จุดระเบิดในรถรุ่นเดิมๆ ตรงที่ว่า ภายในตัวคอยล์ จะมีโมดูลขับกระแสอยู่ ดังนั้นเราจะไม่สามารถวัดความต้านทานคอยล์ที่ขาอินพุทที่ส่งมาจาก ecu ได้ เพราะค่าที่วัดออกมาได้จะไม่ใช่ความต้านทานคอยล์แต่จะเป็นค่า อินพุทอิมพิแดนซ์ของวงจรขับกระแส ซึ่งตรงนี้จะมีความแตกต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิดว่าจะนำอุปกรณ์ขับกระแสตัวไหนมาใช้งาน ของต่าง lot กัน ค่าที่วัดได้จากขาทั้ง 3 นี้อาจไม่เหมิอนกันก็ได้ แต่สิ่งที่ต้องเหมือนกัน คือ ความต้านทานของขดลวดฝั่ง ไฟสูงโดยผมได้ทำการวัดเทียบทั้งที่เป็นของแท้ติดรถ ของเทียบศูนย์ หรือของที่ขายกันอยู่ในตลาดทุกตัวมีค่าความต้านทานใกล้เคียงกัน อยู่ที่ประมาณ 13-15 กิโลโอห์ม (ค่าความต้านทานที่วัดได้นี้ไม่ใช่ความต้านทานของขดลวดแต่จะเป็นความต้านทานที่ต่ออนุกรมอยู่ภายใน)






ทำไมคอยล์รั่วเครื่องถึงเดินสะดุด?
    ในการพันหม้อแปลง ส่วนใหญ่แล้วจะพันขดปฐมภูมิ (ขดไฟต่ำ) อยู่ด้านใน ในที่นี้คือ 12 โวลท์ จากแบตส่วนชุดไฟสูงจะพันอยู่ด้านนอก (35000-40000 โวลท์) ในสภาะปกติถ้าความเป็นฉนวนที่หุ้มตัวคอยล์มีสภาพที่สมบูรณ์ก็ไม่มีปัญหาอะไรกระแสไฟจะวิ่งจากคอยล์ไปยังหัวเทียนและไปจุดระเบิดที่ห้องเผาไหม้แต่ถ้าฉนวนที่หุ้มคอยล์เสื่อมสภาพไป จะทำให้มีกระแสไฟวิ่งทะลุผ่านออกมายังแกนเหล็กได้ ซึ่งแกนเหล็กถูกยึดติดกับฝาวาล์วหรือก็คือกราวน์ของระบบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กระแสไฟไม่วิ่งไปยังหัวเทียนแต่จะมาครบวงจรที่บริเวณฝาวาล์วแทน แต่ถ้าระบบกราวน์ของตัวรถไม่ดี อาจทำให้กระแสไฟวิ่งไปครบวงจรที่ท่อไอดีซึ่งถ้าเป็นรถยนต์ที่ติดแก๊สระบบดูด ก็จะทำให้เกิด Back Fire ขึ้นได้

 อาการเสียเบื้องต้นของคอยล์จุดระเบิด
 - เครื่องมีอาการเดินสะดุด
 - เร่งไม่ขึ้น เหมือนเดินไม่ครบสูบ
 - ในรถที่ติดแก๊สระบบดูดจะมีอาการ back fire (อันนี้เห็นได้ชัดครับ ถ้าคอยล์รั่ว จะ Back บ่อยมากจูนแก๊สยังไงก็ไม่หาย )

การตรวจสอบเบื้องต้น
-วัดความต้านทานคอยล์(วัดได้เฉพาะฝั่งไฟสูง)
 - สังเกตุการรั่วของกระแสไฟ (ถ้ารั่วที่ตัวคอยล์จะเห็นชัด) หาที่มีดๆ เปิดฝากระโปรงรถแล้วสตาร์ทเครื่องสังเกตุบริเวณคอยล์กับฝาวาล์วว่ามกระแสไฟวิ่งหรือไม่ถ้ามีก็รั่ว
-ตรวจดูสภาพก้านคอยล์ว่สมบูรณ์หรือไม่
 - ตรวจดูสภาพที่ตัวคอยล์ว่ามีรอยไหม้หรือไม่